วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิธีการในการสกรีนผ้า และสิ่งต่างๆ

          วิธีในการสกรีนผ้า มี 3 วิธี แต่ละวิธีจะแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะการเลือกเนื้อผ้า ต้นทุนในการทำ และลักษณะงานที่จะออกมา มีให้เลือกหลายวิธีตามความชอบ ความเหมาะสม วิธีการสกรีนจะแบ่งได้ ดังนี้

1.  การสกรีนลงบนผ้าโดยใช้บล็อกสกรีน (Silk Screen) 


          เป็นงานสกรีนแบบใช้บล็อกในการสกรีน สามารถสกรีนได้ทุกเนื้อผ้า สกรีนได้ทั้งผ้าสีเข้ม และผ้าสีอ่อน เหมาะกับการสกรีนเสื้อจำนวนมากๆ เพราะต้นทุนในการทำบล็อกสกรีนค่อนข้างสูง ยกตัวอย่าง ถ้ารูปที่จะนำมาสกรีนมี  3 สี ต้องสร้างบล็อกสกรีนขึ้นมา 3 บล็อก ถ้าจะเปลี่ยนรูปก็ต้องสร้างบล็อกสกรีนขึ้นมาใหม่ ไม่สามารถใช้บล็อกสกรีนชิ้นเดิมได้


2.  การสกรีนลงบนผ้าโดยตรง (Direct to Garment)


          เป็นงานสกรีนแบบพิมพ์ภาพลงไปบนผ้าโดยตรง จะใช้เครื่องปริ้นเตอร์ที่เฉพาะพิมพ์ผ้า งานสกรีนประเภทนี้ 
จำกัดประเภทของผ้าในการสกรีน สามารถสกรีนได้เฉพาะผ้า Cotton 100% สามารถสกรีนลงได้ทั้งบนผ้าสีอ่อน และ
ผ้าสีเข้ม เป็นงานสกรีนที่สวยและ คมชัด ใช้ต้นทุนสูง ขนาดในการสกรีนจะค่อนข้างจำกัด สามารถสกรีนได้ในขนาดที่
ไม่เกิน 50 ซม. * 50 ซม.



3.  การสกรีนลงบนผ้าโดยใช้ระบบรีดร้อน (Heat Transfer) 


          ในงานสกรีนวิธีนี้จะมีรูปแบบงานหลายประเภท มีทั้ง ซับลิเมชั่น (Sublimation) ,ทรานเฟอร์ (Transfer) ,
เฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox) เป็นงานสกรีนโดยใช้เครื่องรีดทำความร้อน (Heat Press) งานชนิดนี้จะแบ่งมวดหมู่
ย่อยลงไปอีก แล้ววันนี้จะมาอธิบายรายละเอียดของ การสกรีนลงบนผ้าโดยใช้ ระบบรีดร้อน (Heat Transfer
อย่างที่บอกว่า งานสกรีนประเภทนี้มีรูปแบบงานหลายประเภท ดังนี้


     3.1.  งานสกรีนประเภทซับลิเมชั่น (Sublimation) 


          คืองานสกรีนที่ย้อมสีลงไปบนเนื้องาน แต่ต้องเป็นเนื้องานที่เฉพาะสำหรับงานสกรีน ในงานซับลิเมชั่น (Sublimation) จะสกรีนได้ทั้ง แก้ว ,จาน ,เคสโทรศัพท์ ,แผ่นอะลูมิเนียม ,แผ่นรองเมาส์ และสิ่งต่างๆที่เป็นผ้า ฯลฯ  ถ้าเป็นของจำพวกแก้ว ,จาน ,เคสโทรศัพท์ และแผ่นอะลูมิเนียม จะต้องมีสารโพลิเมอร์เคลือบอยู่เท่านั้น ถึงจะสกรีนลงไปบนเนื้องานนั้นได้ แต่ถ้าเป็นเสื้อจะต้องเป็นเนื้อผ้าใยสังเคราะห์ และจะต้องเป็นผ้าสีขาว หรือสีอ่อนเท่านั้น 

เนื้อผ้าใยสังเคราะห์ มีหลายชนิด เช่น

- ผ้าทีเค (TK)
- ผ้าไนลอน (Nylon)
- ผ้าพอลิเอสเทอร์ (Polyester)    
- ผ้าอะคริลิค (Acrylic)
- ผ้าสแปนเด็กซ์ (Spandex)หรือ ไลครา (Lycra)
- ผ้าซีฟอง (Chiffon)
- ผ้าซาติน (satin fabric)
- ผ้าทีซี (TC) เนื้อผ้าชนิดนี้มีคอตตอน (Cotton) ผสมอยู่ อาจทำให้สีในการสกรีนไม่ชัดเจน หรือไม่เข้มเท่าเนื้อผ้า
ใยสังเคราะห์ 100%
- ผ้าแคนวาส (Canvas) ฯ

รายละเอียดของงานสกรีนประเภทซับลิเมชั่น (Sublimation) และขั้นตอนการสกรีน คลิกที่นี่ 




     3.2.  งานสกรีนประเภททรานเฟอร์ (Transfer) 



          คืองานที่สกรีนได้เฉพาะบนเนื้อผ้า ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ ถุงเท้า หมวก ผ้ากันเปื้อน ฯลฯ เป็นลักษณะงานที่นูนขึ้นมาจากเนื้อผ้าเล็กน้อย เนื้องานทรานเฟอร์ (Transfer) จะมีลักษณะคล้ายๆ ยาง สามารถยืดได้ รูปงานจะไม่แตก 
งานลักษณะนี้ จะให้สีที่สดกว่า ชัดเจนกว่า และจะมีต้นทุนในการทำที่สูงกว่างานสกรีนประเภทซับลิเมชั่น (Sublimation) 

รายละเอียดของงานสกรีนประเภททรานเฟอร์ (Transfer) และขั้นตอนการสกรีน คลิกที่นี่ 



     3.3.งานสกรีนประเภทเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox) 


          สามารถสกรีนได้ทุกสี ทุกเนื้อผ้า จะมีลักษณะนูนขึ้นมาจากเนื้อผ้าเล็กน้อย คล้ายงานสกรีนประเภททรานเฟอร์ (Transfer) มีเนื้องานให้เลือกหลายชนิด เช่น เฟล็กพียู (Flex PU) ,(Flex Metallic) หรือเรียกอีกชื่อว่า ฟอยล์ (Foil) ,เฟล็กโฮโลแกรม (Flex Hologram) และ ฟล็อก หรือเรียกอีกชื่อว่า กำมะหยี่ (Flox) เนื้องานแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการออกแบบดีไซน์ (Design) แฟชั่น (fashion) ในขณะนั้นๆ และขึ้นอยู่กับสไตล์เนื้อผ้า 
งานสกรีนประเภทนี้ เหมาะกับลายที่เป็นข้อความ ตัวอักษร 

รายละเอียดของงานสกรีนประเภทเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox) และขั้นตอนการสกรีน คลิกที่นี่ 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

INK-SUB  ห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค ชั้น 3 โซนไอที  
ห้อง IT15 (ตรงข้ามกับไปรษณีย์ไทย) แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ 
กรุงเทพฯ 10160  เปิดบริการทุกวัน เวลา 11.00 - 20.00 น.
094-875-2323 (sales)  ,02-458-2913 (service)
line : @inksub
Facebook : www.facebook.com/inksub
E-mail : inksublimation@gmail.com
Web : http://ink-sub.com/

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

งานสกรีนประเภท Sublimation

ก่อนที่เราจะทำงานสกรีนประเภท Sublimation จะต้องมีเครื่องปริ้นเตอร์ ที่เป็นหมึก Sublimation และใช้ได้เฉพาะ
กระดาษ Sub แบบธรรมดา หรือ กระดาษ Sub แบบ Super dry 
ไม่สามารถใช้กระดาษทั่วไปในการสกรีนได้


1.เครื่องปริ้นเตอร์ ที่รองรับการทำงานสกรีนประเภท Sublimation

ของยี่ห้อ EPSON จะรองรับการทำงานสกรีนประเภทนี้ทุกรุ่น เวลาเลือกซื้อก็อยู่ที่ความต้องการของผู้ซื้อ
     1.1 ขนาดเล็ก ขนาด A4 กะทัดรัด ก็จะมีรุ่น
          - L220

          - L360 จะต่างกับ L220 ที่คุณสมบัติในการพิมพ์งานได้เร็วกว่า


     1.2ขนาดใหญ่ขึ้นมา  ขนาด A3 หน้ากว้างจะใหญ่กว่า ก็จะมีรุ่น
          - L1800 จะรองรับได้ 6 สี คือ BK ,M ,Y ,C และที่เพิ่มขึ้นมาคือ LC ,LM


          - L1300 จะรองรับ 4 สี แต่มี 5 แท็งค์ คือ M ,Y ,C และ BK 2 แท็งค์

นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างจากทั้งหมด ต่อมาก็จะพูดถึงเรื่องของน้ำหมึกที่ใช้ คือ หมึกซับลิเมชั่น (Sublimation) ก็จะมีสี (เรียงชื่อจากซ้ายไปขวา)  1.สี M (สีแดง)  ,2.สี BK (สีดำ) ,3.สี Y (สีเหลือง) ,4.สี C (สีน้ำเงิน)


2.หมึกซับลิเมชั่น (Sublimation) 

     เป็นหมึกที่ใช้ในงานสกรีนซับลิเมชั่นทั่วไป และปริ้นลงในกระดาษซับ SUB งานประเภทซับลิเมชั่น (Sublimation) จะสกรีนลงบนผ้าสีอ่อนเท่านั้น เช่น ผ้าสีขาว และสีเทา หากสกรีนลงบนผ้าสีเทา

อาจจะทำให้ความสดของสีลดลงและไม่สวยงามเท่าผ้าที่มีพื้นสีขาว ดังนั้นผ้าสีเข้มควรเหมาะกับ
งานสกรีนประเภททรานเฟอร์ (Transfer) มากกว่า หมึกตัวนี้เป็นหมึกที่สกรีนแล้วสีจมลงผ้า ทำให้ไม่ต้องห่วง
เรื่องสีที่สกรีนลงไปจะจางลงเวลานำไปซัก หากต้องการให้สีมีความสดมากยิ่งขึ้นต้องใช้
กระดาษซับ SUB แบบ ซุปเปอร์ดราย  ถ้าต้องการเห็นข้อแตกต่างของกระดาษซับ SUB แบบธรรมดา และ 
กระดาษซับ SUB แบบซุปเปอร์ดราย คลิกที่นี่ คะ
     2.1ข้อดีของหมึกซับลิเมชั่น (Sublimation)
          หมึกชนิดนี้สามารถทำได้หลากหลายงาน ถ้านอกจากผ้าใยสังเคราะห์ จะต้องมีสารโพลิเมอร์เคลือบอยู่เท่านั้น เช่น        
               - สกรีนเสื้อ
               - สกรีนแก้ว
               - สกรีนหมวก
               - สกรีนจาน
               - สกรีนจิ๊กซอว์
               - สกรีนเซรามิก
               - สกรีนพวงกุญแจและอื่นๆ


3.ความแตกต่างระหว่าง กระดาษซับ SUB แบบธรรมดา  และ กระดาษซับ SUB แบบซุปเปอร์ดราย 

     บางคนอยากทราบว่า กระดาษ 2 ชนิดนี้แตกต่างกันอย่างไร ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล บางคนชอบให้งานสกรีนสีออกมาสดกว่า แต่บางคนชอบให้งานสกรีนสีออกมาซอฟท์กว่า ละมุนกว่า จึงทำให้การเลือกใช้กระดาษนั้น แตกต่างกันออกไป
ภาพนี้เป็นภาพถ่ายจากผ้าจริง ที่ได้ทำการสกรีนลงบนผ้าแล้ว จะเห็นความแตกต่างว่า กระดาษ 2 แบบนี้ ให้สีที่แตกต่างกัน และความคมชัดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลในการเลือกใช้

กระดาษ SUB แบบซุปเปอร์ดรายเหมาะกับการสกรีนลงบนเนื้อผ้าเท่านั้น แต่กระดาษ SUB แบบธรรมดาจะสกรีนได้
ทุกอย่างที่มีสารโพลิเมอร์เคลือบอยู่ ไม่ว่าจะเป็น สกรีนเสื้อ ,สกรีนแก้ว ,สกรีนจาน ,สกรีนจิ๊กซอว์ ,สกรีนเซรามิก ,สกรีนพวงกุญแจ ฯลฯ กระดาษ SUB แบบธรรมดา จะเหมาะกับงานสกรีนลักษณะนี้มากกว่า เพราะจะให้สีที่สวยกว่าในเนื้องานลักษณะนี้ ที่ไม่ใช่เนื้อผ้า

นี่เป็นตัวอย่างการสกรีนจาก
กระดาษ SUB แบบธรรมดา ลงบนวัสดุต่างๆ

          -แก้ว

          -กระเป๋าผ้า

          -พวงกุญแจ

          -จิ๊กซอว์

          -เคสโทรศัพท์



4.ขั้นตอนในการสกรีน ของงานสกรีนประเภทซับลิเมชั่น (Sublimation)

     4.1 เมื่อทำการออกแบบที่ต้องการสกรีนแล้วให้กดสั่งปริ้นในแบบนั้นๆ การตั้งค่าการปริ้นในกระดาษซับ SUB แบบธรรมดา และ กระดาษซับ SUB แบบซุปเปอร์ดราย จะตั้งค่าต่างกัน
          - รูปนี้คือการตั้งค่าก่อนทำการปริ้น ในกระดาษซับ SUB แบบธรรมดา

         - รูปนี้คือการตั้งค่าก่อนทำการปริ้น ในกระดาษซับ SUB แบบซุปเปอร์ดราย


     4.2 เมื่อทำการตั้งค่าเสร็จ ให้ทำการสั่งปริ้น ก่อนจะปริ้นให้วางกระดาษให้ถูกด้าน จะปริ้นบนกระดาษซับ SUB แบบธรรมดา และ กระดาษซับ SUB แบบซุปเปอร์ดราย ต้องวางด้านให้ถูก คือให้เครื่องปริ้น ปริ้นลงบนด้านที่ลื่นๆ เมื่อปริ้นเสร็จจะได้แบบนี้ตามรูป ความแตกต่างของกระดาษซับ SUB แบบธรรมดาจะมีเนื้อกระดาษที่สีขาว (กระดาษด้านซ้าย) กับ กระดาษซับ SUB แบบซุปเปอร์ดรายจะมีเนื้อกระดาษสีออกเหลืองๆนวลๆ (กระดาษด้านขวา)

     4.3 ทำการวางผ้าลงบนเครื่องรีดร้อน (Heat Transfer) แล้วคว่ำกระดาษที่ปริ้นแล้วลงไปบนผ้า สำหรับงานสกรีนประเภทซับลิเมชั่น (Sublimation) จะต้องตั้งอุณหภูมิที่ 200 องศา ใช้เวลา 45 - 60 วินาที

     4.4 เมื่อครบตามเวลาที่ตั้งไว้แล้ว ก็จะได้ตามภาพคะ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

INK-SUB  ห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค ชั้น 3 โซนไอที  
ห้อง IT15 (ตรงข้ามกับไปรษณีย์ไทย) แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ 
กรุงเทพฯ 10160  เปิดบริการทุกวัน เวลา 11.00 - 20.00 น.
094-875-2323 (sales)  ,02-458-2913 (service)
line : @inksub

Facebook : www.facebook.com/inksub
E-mail : inksublimation@gmail.com