กระดาษ Sub แบบธรรมดา หรือ กระดาษ Sub แบบ Super dry
ไม่สามารถใช้กระดาษทั่วไปในการสกรีนได้
1.เครื่องปริ้นเตอร์ ที่รองรับการทำงานสกรีนประเภท Sublimation
ของยี่ห้อ EPSON จะรองรับการทำงานสกรีนประเภทนี้ทุกรุ่น เวลาเลือกซื้อก็อยู่ที่ความต้องการของผู้ซื้อ1.1 ขนาดเล็ก ขนาด A4 กะทัดรัด ก็จะมีรุ่น
- L220
- L360 จะต่างกับ L220 ที่คุณสมบัติในการพิมพ์งานได้เร็วกว่า
1.2ขนาดใหญ่ขึ้นมา ขนาด A3 หน้ากว้างจะใหญ่กว่า ก็จะมีรุ่น
- L1800 จะรองรับได้ 6 สี คือ BK ,M ,Y ,C และที่เพิ่มขึ้นมาคือ LC ,LM
- L1300 จะรองรับ 4 สี แต่มี 5 แท็งค์ คือ M ,Y ,C และ BK 2 แท็งค์
นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างจากทั้งหมด ต่อมาก็จะพูดถึงเรื่องของน้ำหมึกที่ใช้ คือ หมึกซับลิเมชั่น (Sublimation) ก็จะมีสี (เรียงชื่อจากซ้ายไปขวา) 1.สี M (สีแดง) ,2.สี BK (สีดำ) ,3.สี Y (สีเหลือง) ,4.สี C (สีน้ำเงิน)
2.หมึกซับลิเมชั่น (Sublimation)
เป็นหมึกที่ใช้ในงานสกรีนซับลิเมชั่นทั่วไป และปริ้นลงในกระดาษซับ SUB งานประเภทซับลิเมชั่น (Sublimation) จะสกรีนลงบนผ้าสีอ่อนเท่านั้น เช่น ผ้าสีขาว และสีเทา หากสกรีนลงบนผ้าสีเทาอาจจะทำให้ความสดของสีลดลงและไม่สวยงามเท่าผ้าที่มีพื้นสีขาว ดังนั้นผ้าสีเข้มควรเหมาะกับ
งานสกรีนประเภททรานเฟอร์ (Transfer) มากกว่า หมึกตัวนี้เป็นหมึกที่สกรีนแล้วสีจมลงผ้า ทำให้ไม่ต้องห่วง
เรื่องสีที่สกรีนลงไปจะจางลงเวลานำไปซัก หากต้องการให้สีมีความสดมากยิ่งขึ้นต้องใช้
กระดาษซับ SUB แบบ ซุปเปอร์ดราย ถ้าต้องการเห็นข้อแตกต่างของกระดาษซับ SUB แบบธรรมดา และ
กระดาษซับ SUB แบบซุปเปอร์ดราย คลิกที่นี่ คะ
2.1ข้อดีของหมึกซับลิเมชั่น (Sublimation)
หมึกชนิดนี้สามารถทำได้หลากหลายงาน ถ้านอกจากผ้าใยสังเคราะห์ จะต้องมีสารโพลิเมอร์เคลือบอยู่เท่านั้น เช่น
- สกรีนเสื้อ
- สกรีนแก้ว
- สกรีนหมวก
- สกรีนจาน
- สกรีนจิ๊กซอว์
- สกรีนเซรามิก
- สกรีนพวงกุญแจและอื่นๆ
3.ความแตกต่างระหว่าง กระดาษซับ SUB แบบธรรมดา และ กระดาษซับ SUB แบบซุปเปอร์ดราย
บางคนอยากทราบว่า กระดาษ 2 ชนิดนี้แตกต่างกันอย่างไร ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล บางคนชอบให้งานสกรีนสีออกมาสดกว่า แต่บางคนชอบให้งานสกรีนสีออกมาซอฟท์กว่า ละมุนกว่า จึงทำให้การเลือกใช้กระดาษนั้น แตกต่างกันออกไป
ภาพนี้เป็นภาพถ่ายจากผ้าจริง ที่ได้ทำการสกรีนลงบนผ้าแล้ว จะเห็นความแตกต่างว่า กระดาษ 2 แบบนี้ ให้สีที่แตกต่างกัน และความคมชัดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลในการเลือกใช้
กระดาษ SUB แบบซุปเปอร์ดรายเหมาะกับการสกรีนลงบนเนื้อผ้าเท่านั้น แต่กระดาษ SUB แบบธรรมดาจะสกรีนได้
ทุกอย่างที่มีสารโพลิเมอร์เคลือบอยู่ ไม่ว่าจะเป็น สกรีนเสื้อ ,สกรีนแก้ว ,สกรีนจาน ,สกรีนจิ๊กซอว์ ,สกรีนเซรามิก ,สกรีนพวงกุญแจ ฯลฯ กระดาษ SUB แบบธรรมดา จะเหมาะกับงานสกรีนลักษณะนี้มากกว่า เพราะจะให้สีที่สวยกว่าในเนื้องานลักษณะนี้ ที่ไม่ใช่เนื้อผ้า
นี่เป็นตัวอย่างการสกรีนจากกระดาษ SUB แบบธรรมดา ลงบนวัสดุต่างๆ
-แก้ว
-กระเป๋าผ้า
-พวงกุญแจ
-จิ๊กซอว์
-เคสโทรศัพท์
4.ขั้นตอนในการสกรีน ของงานสกรีนประเภทซับลิเมชั่น (Sublimation)
4.1 เมื่อทำการออกแบบที่ต้องการสกรีนแล้วให้กดสั่งปริ้นในแบบนั้นๆ การตั้งค่าการปริ้นในกระดาษซับ SUB แบบธรรมดา และ กระดาษซับ SUB แบบซุปเปอร์ดราย จะตั้งค่าต่างกัน- รูปนี้คือการตั้งค่าก่อนทำการปริ้น ในกระดาษซับ SUB แบบธรรมดา
4.2 เมื่อทำการตั้งค่าเสร็จ ให้ทำการสั่งปริ้น ก่อนจะปริ้นให้วางกระดาษให้ถูกด้าน จะปริ้นบนกระดาษซับ SUB แบบธรรมดา และ กระดาษซับ SUB แบบซุปเปอร์ดราย ต้องวางด้านให้ถูก คือให้เครื่องปริ้น ปริ้นลงบนด้านที่ลื่นๆ เมื่อปริ้นเสร็จจะได้แบบนี้ตามรูป ความแตกต่างของกระดาษซับ SUB แบบธรรมดาจะมีเนื้อกระดาษที่สีขาว (กระดาษด้านซ้าย) กับ กระดาษซับ SUB แบบซุปเปอร์ดรายจะมีเนื้อกระดาษสีออกเหลืองๆนวลๆ (กระดาษด้านขวา)
4.3 ทำการวางผ้าลงบนเครื่องรีดร้อน (Heat Transfer) แล้วคว่ำกระดาษที่ปริ้นแล้วลงไปบนผ้า สำหรับงานสกรีนประเภทซับลิเมชั่น (Sublimation) จะต้องตั้งอุณหภูมิที่ 200 องศา ใช้เวลา 45 - 60 วินาที
4.4 เมื่อครบตามเวลาที่ตั้งไว้แล้ว ก็จะได้ตามภาพคะ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
INK-SUB ห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค ชั้น 3 โซนไอที
ห้อง IT15 (ตรงข้ามกับไปรษณีย์ไทย) แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพฯ 10160 เปิดบริการทุกวัน เวลา 11.00 - 20.00 น.
094-875-2323 (sales) ,02-458-2913 (service)
line : @inksub
ห้อง IT15 (ตรงข้ามกับไปรษณีย์ไทย) แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพฯ 10160 เปิดบริการทุกวัน เวลา 11.00 - 20.00 น.
094-875-2323 (sales) ,02-458-2913 (service)
line : @inksub
Facebook : www.facebook.com/inksub
E-mail : inksublimation@gmail.com
Web : http://ink-sub.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น