วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

งานสกรีนประเภทเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox)

          งานสกรีนประเภทเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox) เป็นงานสกรีนที่ใช้ เฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox) นำมาเป็นตัดเป็นข้อความ หรือ รูปโลโก้ต่างๆ ที่มีลายเส้นที่ชัดเจน แล้วนำมารีดทับลงไปบนเสื้อ ส่วนใหญ่งานประเภทนี้จะเปํนข้อความ สามารถสกรีนได้ทุกเนื้อผ้า ทั้งคอตตอน Cotton 100% และใยสังเคราะห์ สกรีนได้ทั้งผ้าสีเข้ม และผ้าสีอ่อน


1.งานสกรีนประเภทเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox)

     จะแตกต่างกับงานสกรีนประเภทซับลิเมชั่น (Sublimation) และ งานสกรีนประเภททรานเฟอร์ (Transfer) ค่อนข้างมาก เพราะงานสกรีนประเภทเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox) ไม่สามารถสกรีนเป็นรูปได้ จะทำได้แต่ข้อความ ตัวอักษร ที่เป็นสีเดียว แต่ตัวเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox) จะมีให้เลือกหลายสี หลายลักษณะเนื้องาน ขึ้นอยู่ที่ความชอบแต่ละคนว่าชอบงานแบบไหน สีไหน เพราะมีตัวเลือกให้เลือกค่อนข้างเยอะ และด้านหลังของตัวเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox) จะมีกาวเคลื่อบไว้อยู่ เพื่อเอาไว้ให้ เครื่องรีดทำความร้อน Heat Transfer นำความร้อนไปละลายตัวกาวด้านหลัง ให้ไปติดกับเนื้อผ้า


2.ประเภทของเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox)

     2.1 ฟล็อก หรือเรียกอีกชื่อว่า กำมะหยี่ (Flox)
        สำหรับตัว ฟล็อก หรือกำมะหยี่นี้ จะมีขนาดความหนา ค่อนข้างที่จะหนามากกว่าตัวอื่นๆ และเมื่อจับสัมผัส จะมีลักษณะเป็นขนๆ นูนขึ้นมาจากเนื้อผ้าค่อนข้างสูงนิดหน่อย 


     2.2 เฟล็ก พียู (Flex PU)
        ตัวเฟล็ก พียู จะเป็นเนื้อยาง หนังเทียม ตัวนี้จะนูนขึ้นมาจากเนื้อผ้าแค่เล็กน้อย จะมีความบางกว่าตัวอื่นๆ 


     2.3 เฟล็กโฮโลแกรม (Flex Hologram)
       ตัวเฟล็กโฮโลแกรม จะเป็นเนื้อพลาสติก ลื่นๆ เงาๆ จะมีเม็ดของโฮโลแกรมอยู่ในเนื้อเพื่อให้สะท้อนกับแสง และจะเกิดความวิ้งวับ ดูสวยงาม จะมีเนื้อหนาขึ้นมาจากเฟล็ก พียู เล็กน้อย


     2.4 เฟล็กเมทัลลิค (Flex Metallic) หรือเรียกอีกชื่อว่า ฟอยล์ (Foil)
       ตัวเฟล็กเมทัลลิค จะเป็นเนื้อคล้ายๆ เฟล็กโฮโลแกรม แต่จะมีความเงามากกว่า จะสามารถสะท้อนภาพได้เหมือนกระจก  จะมีเนื้อหนาขึ้นมาจากเฟล็กเมทัลลิค เพียงเล็กน้อย


3.ขั้นตอนในการสกรีนของงานสกรีนประเภทเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox)

     3.1 เมื่อทำการออกแบบในโปรแกรม Silhouette Studio เสร็จแล้ว ให้ทำการกดที่รูปงานที่ออกแบบไว้ แล้วคลิกขวาที่เมาส์ จะมีเมนูปรากฏขึ้น ให้เลือกคำสั่ง " พลิกรูปไปตามแนวนอน " 

     3.2 เมื่อพลิกรูปเสร็จแล้ว  ให้กดไปที่ปุ่ม
 (จะอยู่ด้านบนขวาของแถบเมนูบาร์ ) ต่อมาให้ทำการตั้งค่าก่อนสั่งตัด คือ ตั้งค่าใบมีดไว้ที่ 2 คือเริ่มต้น ถ้าทำงานไปสักระยะ แล้วใบมีดเริ่มตัดไม่ค่อยขาด ให้ทำการเพิ่มค่าใบมีดไปทีละ
สเต็ป ต่อมาคือการตั้งค่าความเร็ว การตั้งค่าความเร็วขึ้นอยู่กับ ความละเอียดของเนื้องานที่จะตัด ถ้างานนั้นมีความละเอียดค่อนข้างมากให้ตั้งความเร็ว 1-3 แต่ถ้าความละเอียดไม่มาก ให้ตั้งค่าความเร็ว 4-5  หรือสูงกว่านั้นได้ และความหนา 
ของตัวเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox) ที่เราต้องการจะตัด ในแต่ละเนื้องานของเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox) จะกำหนดค่าก่อนสั่งตัดไม่เหมือนกัน  ดังนี้
          - ฟล็อก หรือเรียกอีกชื่อว่า กำมะหยี่ (Flox) จะกำหนดค่าความหนา เท่ากับ 33

          - เฟล็ก พียู (Flex PU) จะกำหนดค่าความหนา เท่ากับ 16

          - เฟล็กโฮโลแกรม (Flex Hologram) จะกำหนดค่าความหนา เท่ากับ 18

          - เฟล็กเมทัลลิค (Flex Metallic) หรือเรียกอีกชื่อว่า ฟอยล์ (Foil) จะกำหนดค่าความหนา เท่ากับ 18

     3.3  เมื่อตั้งค่าความเร็ว และความหนาเสร็จแล้ว ให้ทำการกดที่ปุ่ม " ส่งไปยัง Silhouette  " แล้วเครื่องก็จะตัดจนเสร็จ

     3.4 เมื่อเครื่อง CAMEO V3 ตัดเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox) เสร็จแล้ว ให้ทำการลอกส่วนที่ไม่ต้องการออก ภาพด้านล่างคือภาพที่ลอกส่วนที่ไม่ต้องการออกไปแล้ว

     3.5 นำเฟล็ก (Flex) และฟล็อก (Flox) ที่ทำเสร็จแล้วไปวางบนเสื้อผ้าที่เตรียมไว้ รูปด้านล่างคือการนำเทปกันความร้อนแปะยึดไว้ เพื่อกันการเคลื่อนออกจากตำแหน่งที่ต้องการวาง

     3.6 ต่อมาให้ตั้งค่าอุณหภูมิที่ 170-180 องศา ตั้งค่าเวลา 10-15 วินาที และทำการกดทับหน้าเตาลงไปเลย


     3.7 เมื่อครบตามเวลาที่ตั้งไว้แล้ว ก็จะได้ตามภาพคะ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่


INK-SUB  ห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค ชั้น 3 โซนไอที  ห้อง IT15 
(ตรงข้ามกับไปรษณีย์ไทย) แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ  กรุงเทพฯ 
10160  เปิดบริการทุกวัน เวลา 11.00 - 20.00 น.
094-875-2323 (sales)  ,02-458-2913 (service)
line : @inksub
Facebook : www.facebook.com/inksub
E-mail : inksublimation@gmail.com
Web : http://ink-sub.com/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น